วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตำนานฟุตบอล ไทย กับ ลิเวอร์พลู



                     ครั้งหนึ่งในชีวิตที่นักเตะไทย มีโอกาสที่เล่นแล้วดูสุดยอดที่สุด

พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม พระตำหนักทับแก้ว 2550

พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม เปิดทำการทุกวัน ณ เรือนสุภรักษ์ พระตำหนักทับแก้ว พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม ซึ่งเคยเป็นสถานที่ของสโมสรกรมมหรสพ ทีมแรกที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลถ้วย ก. เมื่อ 94 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประวัติฟุตบอลไทย





ประวัติกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย 

                       ประเทศไทยเรานั้นได้มีการเล่นฟุตบอลในสมัยต้นรัชกาลที่ 6 เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่  5  ได้ส่งลูกหลานและข้าราชบริพารไปเรียนอังกฤษ จึงได้รับเกมนี้กลับเมืองไทยและผู้นำฟุตบอล กลับมายังประเทศไทยคนแรกเมื่อปี พ.ศ.2440  คือ   พระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น  เทพหัสดิน  ณ  อยุธยา)หรือ “ครูเทพ” ผู้แต่งเพลงกราวกีฬา  ซึ่งเป็นเพลงอมตะของไทย  เนื้อเพลงกอร์ปด้วยคุณธรรม  จริยธรรมเพรียบพร้อมไปด้วยน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง การแข่งขันฟุตบอลครั้งแรกเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ที่ 2  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2443  (ร.ศ.119)  ณ  สนามหลวง  ระหว่างชุดบางกอกกับชุดกรมศึกษาธิการซึ่งเรียกการแข่งขันครั้งนี้ว่า “แอสโซซิเอชั่นฟุตบอล” (ประโยค  สุทธิสง่า, 2538: 1-2) เมื่อวันที่   25  เมษายน พ.ศ. 2459  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว     ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งสยามขึ้น  และได้ตั้งทีมฟุตบอลชื่อ  “โฮ้วป่า” (เสือป่า)  เป็นทีมของพระองค์  ต่อมาได้เป็นภาคีสมาชิกฟุตบอลระหว่างชาติ  เมื่อวันที่  25  มิถุนายน  2568  ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งกรรมการดำเนินการขึ้น  ซึ่งกิจการก็ดำเนินมาด้วยดี  และได้ตราเป็นข้อบังคับใช้  ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงข้อบังคับเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัยได้ดี 
                                   การแก้ไขครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2471
                                    ครั้งที่ 2  เมื่อ พ.ศ.2493   
                                    ครั้งที่  3  เมื่อ พ.ศ.2499   
                                    ครั้งที่  4  คือ พ.ศ. 2512  
                และในครั้งที่ 3  ให้เรียกข้อบังคับนั้นว่า “ข้อบังคับลักษณะปกครอง”  และเรียกสมาคมเสียใหม่ว่า “สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  อักษรย่อว่า  “ส.ฟ.ท.”  และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า                     The  Football  Association  of Thailand under the Royal Patronage of His Majestic The King  อักษรย่อว่า  F.A.T  สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี  2495  โดยเปิดการแข่งขันประเภทถ้วยใหญ่และถ้วยน้อย  จนกระทั่งปี 2514  ได้เปลี่ยนวิธีการแข่งขันประเภท ก.ข.ค.ง.  ตามแบบอย่างอังกฤษดังปัจจุบันนี้  นอกจากนั้นได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค  2  ครั้ง  คือปี  2499  และปี  2511  ที่เมลเบิร์น  ประเทศออสเตรเลีย  และเมืองเม็กซิโกซิตี้ประเทศเม็กซิโก  และได้เข้าร่วมกีฬาเอเชียนเกมส์และเซียบเกมส์เกือบทุกครั้ง  ได้เคยเป็นแชมเปี้ยนร่วมกับพม่าในกีฬาแหลมทอง  ครั้งที่  3  ได้เคยเป็นแชมเปี้ยนฟุตบอลเยาวชน  ครั้งที่ 5  และครั้งที่  11 ที่กรุงเทพฯ ทีมฟุตบอลไทยได้ไปร่วมในกีฬาฟุตบอลฉลองเอกราชมาเลเซียทุกครั้งและไปเชื่อมสัมพันธไมตรีกับพม่า  เวียดนาม  สิงคโปร์  มาเลเซียอยู่เนืองนิตย์  นักฟุตบอลไทยได้เคยถูกยกย่องให้เป็นดาราฟุตบอลเอเซีย 4 คน  คือนายสุชาติ มุทุกันต์ นายวิชิต  แย้มบุญเรือง  นายอัศวิน  ธงอินเนตร  และนายณรงค์  สังขสุวรรณ  สมาคมฟุตบอลไทยได้เคยส่งนักฟุตบอลไทยไปเรียนวิชาฝึกฟุตบอล  1  คน   คือ  นายสำรวย ไชยยงค์  สมาคมฟุตบอลได้โค้ชอังกฤษ   มาช่วยสอนโค้ชไทย  คือ  มิสเตอร์ วอลเลย์  บาล และเคยได้มิสเตอร์เดทมาร์เมอร์   มาอบรมโค้ชไทยถึงสองครั้งสองคราวในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ และในการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนครั้งที่ 8  นอกจากนั้นมี  ผู้สนใจฝึกฟุตบอลไปเรียนที่อังกฤษ คือ  นายทวีพงษ์  เสนีย์วงศ์  และนายสุเมธ   แก้วทิพย์เนตร  ซึ่งขี่จักรยานไปเรียนเช่นเดียวกัน ซึ่งในระยะหลังสโมสรกีฬาต่างนิยมส่งคนไปอบรมอยู่เรื่อยๆ
จากสภาพการปัจจุบัน  สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย  ได้รับเกียรติยศชื่อเสียงเป็นที่ ปรากฏ  และประจักษ์แจ้งแก่มวลสมาชิกฟุตบอลนานาชาติ  ตัวอย่าง  ประเทศเกาหลีได้จัดฟุตบอล เพรสซิเด้นคัพปี  2530  ได้เชิญทีมฟุตบอลทีมชาติเอเซียเข้าร่วมเพียงทีมเดียว  คือทีมฟุตบอลชาติไทยเท่านั้นแสดงว่าสมาคมฟุตบอลไทยได้บริหารทีมฟุตบอลให้เป็นทีมที่มีมาตรฐานสูงสุดจนเป็นที่ยอมรับของเอเซียในปัจจุบัน  และต่อจากนี้ไปในปี พ.ศ. 2534  สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้วางแผนพัฒนาทีมฟุตบอลชาติไทยให้ยิ่งใหญ่ขึ้น  

                                สภากรรมการสมาคมฟุตบอลฯ ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ดำเนินการแข่งขันฟุตบอลระดับชาติขึ้นภายในประเทศ  เพื่อเป็นการแสดงถึงความกตัญญู  ความจงรักภักดี  และเป็นการเทิดพระเกียรติแด่ผู้ให้กำเนิดสมาคมและราชวงศ์จักรีวงศ์สืบต่อไป  ดังมีอุดมการณ์ที่สำคัญ  5  ประการคือ
1. เป็นการเทิดพระเกียรติและพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. เป็นการกระชับสัมพันธภาพกับนานาชาติในเครือสมาชิก
3. เป็นการยกระดับมาตรฐานการกีฬาฟุตบอล
4. เป็นการเผยแพร่ความนิยมกีฬาฟุตบอลแก่นักกีฬาและประชาชน
5. เป็นการหารายได้ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล
สภากรรมการสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย  ได้ลงมติให้ส่งหนังสือไปยังราชเลขาธิการเพื่อกราบบังคมทูลพระกรุณาขอรับพระราชทานพระบรมราชานุญาต  จัดดำเนินการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน  “คิงส์คัพ”  ในปีพุทธศักราช  2511  และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต  พร้อมทั้งพระราชทานถ้วยทองสำหรับทีมชนะเลิศ  ถ้วยพระราชทานนี้จะไม่เป็นกรรมสิทธิ์แก่ทีมฟุตบอลใด  จะต้องทำการแข่งขันชิงความเป็นผู้ชนะเลิศ
ในทุกๆ  ปี